คำว่า “พระอริยบุคคล” คืออะไร

472

คำว่า “พระอริยบุคคล” ก็คือ บุคคลผู้ประเสริฐ ในความหมายก็คือเป็นบุคคลที่อยู่ในเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยความหมายก็คือ สามารถกำหนดได้ด้วยการละสังโยชน์ไว้ภายในภพ โดยที่ใครที่สามารถละได้น้อยก็ถือว่าเป็นอริยบุคคลชั้นต่ำ และสำหรับใครที่ละได้หมด ก็จะถือว่าเป็นพระอรหันต์

โดยปกติแล้วมักจะเป็นผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานไปตามลำดับขั้น ถือเป็นผู้ที่ได้เห็นธรรมชาติโดมรวมทั้งในสิ่งที่สามารถเป็นไปได้และไม่ได้ ตามรูป กาย ใจ โดยที่จะสามารถมองเห็นอย่างทะลุปรุโปร่ง เพราะจะมองออกไปถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และที่สำคัญก็คือจะไม่ยึดมั่นถือมั่นได้ เพราะ ทุกสิ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจ จึงทำให้เรื่องทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่ใจต้องการ โดยสังโยชน์ก็มีด้วยกันถึง 10 อย่าง โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

1. พระโสดาบัน ละสิ่งดังต่อไปนี้

1.สักกายทิฏฐิ ความหมายคือ ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน
2.วิจิกิจฉา ความหมายคือ ความสงสัยว่าพระรัตนตรัยดีจริงหรือ
3.ศีลพตปรามาส ความหมายคือ การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์

2.พระสกทาคามี ละชั้นพระโสดาบัน โดยความหมายที่แท้จริงส่วนของ จิต จะคลายจากราคะโทสะ และโมหะมากขึ้น และเมื่อสามารถบรรลุเป็นพระสกทาคามี ก็จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว

3.พระอนาคามี ละชั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และก็จะรวมไปอีก 2 นั่นก็คือ

4.กามราคะ ความหมายคือ ความติดใจในกามารมณ์
5.ปฏิฆะ ความหมายคือ ความขัดเคืองใจ

4.พระอรหันต์ ละชั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี โดยความหมายนั้นจะรวมไปอีก 5 ข้อ

6.รูปราคะ ความหมายคือ ความติดใจในรูป ยกตัวอย่างก็คือ ความสวยงาม
7.อรูปราคะ ความหมายคือ ติดใจในของที่ไม่มีรูป ยกตัวอย่างก็คือ ความสรรเสริญ
8.มานะ ความหมายคือ ความยึดถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ยกตัวอย่างก็คือ การติดในสมณศักดิ์
9.อุทธัจจะ ความหมายคือ ความฟุ้งซ่านภายในจิต จึงทำให้ไม่สงบจิตใจ
10.อวิชชา ความหมายคือ ความไม่รู้อริยะสัจสี่

สำหรับเนื้อหาทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า ปุถุชนทั้งหลาย ก็เปรียบเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำที่กำลังไหลเชี่ยวและลึก โดยคนเหล่านั้นจะต้องอยู่ภายใต้ความทุกข์ทรมาน ในขณะที่กำลังสำลักน้ำอยู่กับช่วงอารมณ์ที่ไม่รู้อนาคต ในขณะเดียวกันก็จะต้องเสี่ยงกับการเกิดภัยอันตรายต่าง ๆ จากปลาร้ายทั้งหลาย และต่อมาก็คือ โสดาบัน โดยได้เปรียบเทียบเอาไว้ว่า โสดาบันนั้นเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ พ้นจากภัยที่เกิดขึ้นจนสามารถมองเห็นฝั่ง (ซึ่งความหมายที่แท้จริงก็คือ แห่งพระนิพพาน)

ในขณะที่เห็นฝั่งแล้ว ก็พยายามต่อสู่เพื่อที่จะนำเอาตัวเองว่ายเข้าหาชายฝั่งให้มากที่สุด นั่นก็หมายถึง การพาตัวเองไปในจุดที่มีน้ำที่ไม่ลึกมาก ก็จะสามารถหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ และพระอรหันต์ ก็เปรียบเหมือนผู้ที่กำลังเดินขึ้นฝั่งได้อย่างปลอดภัย ชีวิตที่ทุกทรมานได้ผ่านพ้นไปแล้วและรอวันปรินิพานอยู่